วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๑๑

วันที่ ๓๑ เดือน ธันวาคม   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ชัยวัฒน์ การรื่นศรี โลกและอวกาศ
          พิมพ์ครั้งที่ ๒ สำนักพิมพ์ ปาเจรา  หน้า ๔๗ - ๖๐



เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์


     โลกหมุนรอบตัวเองครบ ๑ รอบ ใช้เวลา ๒๔ ชั่วโมง โดย ๑๒ ชั่วโมงแรกโลกจะได้รับแสงสว่าง ส่วนอีก ๑๒ ชั่วโมงหลัง โลกจะมืดมิด เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า กลางวัน และกลางคืน นอกจากโลกจะหมุนรอบตัวเองเเล้ว ยังโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกด้วย โดยโคจรครบ ๑ รอบ ใช้เวลา ๓๖๕ วัน หรือ ๑ ปี โดยในช่วงเวลา ๑ ปีนี้ บางช่วงโลกจะมีอากาศที่หนาวบ้างร้อนบ้าง เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่าฤดูกาล
     สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์
      - การหมุนรอบตัวเองของโลกนั้น ทำให้เกิดฤดูกาลที่แตกต่างกันไป
      - โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๑๐

วันที่ ๒๑ เดือน ธันวาคม   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : นายแพทย์สุเทพ ฤษฎีวณิชยา Priciple of Biology 3
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ บริษัทสำนักพิมพ์แม็คจำกัด หน้า ๕๔๘ - ๗๔๖



สปีชีส์ทางชีววิทยาคืออะไร


     สปีชีส์ (species) เป็นคำในภาษาละตินแปลว่า "ชนิด" ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ซึ่งแต่เดิมนั้นนักวิทยาให้คำจำกัดความของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะทางกายภาพ ชีวเคมี และรูปแบบการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ตามคำจำกัดความดังกล่าวก็มีข้อจำกัดเนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายอย่างมาก ในบางกรณีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอาจจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างมากจนไม่สามารถใช้คำจำกัดความดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น มีกบมากกว่า 10 สปีชีส์ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างมากจนไม่อาจใช้คำจำกัดความดังกล่าวแยกออกเป็นสปีชีส์ต่างกันได้ นอกจากนั้นสิ่งที่มีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างมาก อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันได้ เช่น สุนัขพันธุ์ต่างๆจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่จาการศึกษาโดยละเอียดพบว่าเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน เป็นต้น
     เมื่อมีความก้าวหน้าในแขนงวิชาพันธุศาสตร์ประชากร ทำให้นักชีววิทยาเข้าใจในความหมายของสปีชีส์ได้อย่างถูกต้อง โดยได้ให้คำจำกัดความของ "สปีชีส์ใหม่" ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่ถูกต้อง ชัดเจน กล่าวคือ สปีชีส์หมายถึงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมอยู่ภายใจยีนพลูเดียวกัน สิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกันจะสามารถจับคู่ผสมพันธ์กันได้เองตามธรรมชาติ และให้กำเนิดลูกที่ไม่เป็นหมัน ส่วนสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะไม่มีการจับคู่ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ

บันทึกการอ่านเรื่องที่๙

วันที่ ๒๑ เดือน ธันวาคม   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : นายแพทย์สุเทพ ฤษฎีวณิชยา Priciple of Biology 3
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ บริษัทสำนักพิมพ์แม็คจำกัด หน้า ๔๕ - ๖๐



ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง


     ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งคน คือ สมองและไขสันหลัง ซึ่งเจริญเปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้างเดียวกัน กล่าวคือ ในระหว่างการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในระยะสร้างอวัยวะ (organogenesis) จะมีการเจริญเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) กลายเป็นหลอดประสาท (neural tube) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นท่อกลวงอยู่ด้านบนและทอดยาวตลอดลำตัวของเอ็มบริโอจากด้านหน้าไปด้านหลัง ส่วนหลอดประสาทที่อยู่ด้านหน้าจะขยายใหญ่ขึ้นและเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นสมอง ส่วนหลอดประสาทที่อยู่ด้านหลังจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นไขสันหลัง สมองและไขสันหลังจะเป็นเนื้อเยื่อที่ต่อเนื่องกันและมีโพรงภายในซึ่งติดต่อถึงกันได้
     ในระยะแรกของการเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นสมอง หลอดประสาททางด้านหน้าจะขยายใหญ่และโป่งพองออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า (forebrain) สมองส่วนกลาง (midbrian) และสมองส่วนท้าย (hindbrian)
     สมองส่วนหน้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เทเลนเซฟาลอน (telencephalon) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นซีรีบรัม ส่วนไดเอนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นทาลามัส (thalamus) และไฮโพทาลามัส (hypothalamus)
     สมองส่วนกลาง ได้แก่ เมเซนเซฟาลอน (mesencephalon) ซึ่งจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นสมองส่วนกลาง สมองส่วนกลางของปลาและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกจะมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางควบคุมและประสานงาน โดยจะรับกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ประมวลผลและสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลางจะเจริญเปลี่ยนแปลงเป็น opticlobe ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น
     สมองส่วนท้าย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมเทนเซฟาลอน (metencephalon) และไมอีเลนเซฟาลอน (myelencephalon) เมเทนเซฟาลอนจะเจริฐเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเซรีเบลลัม 9cerebellum) และพอนส์ (pons) ส่วนไมอีเลนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเมดัลลา (medulla)

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๘

วันที่  ๑๐  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ชีววิทยาอนามัย
         พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๑๐๖ - ๑๐๙



การบำบัดด้วยยีน


     จากความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติต่างๆในคนที่เกิดจากความบกพร่องของยีน หากสามารถใส่ยีนที่ปกติเข้าไปในเซลล์ร่างกายหรือเนื้อเยื่อที่แสดงอาการผิดปกติ แล้วทำให้ยีนนั้นแสดงออกเพื่อให้สร้างโปรตีนที่ปกติในบริเวณดังกล่าว จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยบำบัดอาการบกพร่องที่เกิดขึ้นได้
     ในปัจจุบันเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการถ่ายยีนปกติเพื่อใช้ในวิธีการบำบัดด้วยยีน (gene therapy) คือการใช้ไวรัสชนิดหนึ่งเป็นตัวนำยีนที่ต้องการถ่ายเข้าสู่เซลล์คน ซึ่งยีนของไวรัสที่เป็นอันตรายต่อคนจะถูกตัดทิ้งแล้วใส่ยีนของคนที่ต้องการเข้าไปแทนที่ ไวรัสที่สร้างขึ้นใหม่นี้จะมียีนที่ต้องการแทรกอยู่และมีความสามารถในการแทรกจีโนมของตัวมันเข้าสู่โครโมโซมคนได้ แต่จะไม่สามารถจำลองตนเองเพื่อเพิ่มจำนวนได้ เนื่องจากยีนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวที่มีอยู่เดิมในไวรัสได้ถูกตัดทิ้งไปแล้ว
     วิธีบำบัดด้วยยีน แต่ละกรณีจะต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่ครัดในทุกขั้นตอน เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับการรักษา ตัวอย่างของโรคที่มีการบำบัดด้วยยีน เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง (Severe Combined Immunodeficiency Disordor; SCID) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถสร้างภูมคุ้มกันได้และมักเสียชีวิตจากการติดเชื่อเพียงเล็กน้อย

บันทึกการอ่านเรื่องที่๗

วันที่  ๑๐  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : Gomdori co. ประวัติศาสตร์นานาประเทศแสนสนุก
         พิมพ์ครั้งที่ ๒ สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ หน้า ๘๖ - ๑๐๒



ประวัติศาสตร์เยอรมนี


ยุคโบราณ
     ประวัติศาสตร์เยอรมนีเริ่มราวศตวรรษที่ ๔ เมื่อชนเผ่าแฟรงก์ก่อตั้งจักรวรรดิแฟรงก์ขึ้นมา ในยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวรรดิชาเลอมาญ สามารถขยายอาณาเขตไปถึงฝรั่งเศสในปัจจุบันและพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยอรมนี แต่หลังจากพระองค์สวรรคต อาณาจักรแห่งนี้ก็แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ทิศตะวันออกคือเยอรมนีทิศตะวันตกคือฝรั่งเศส ส่วนตรงกลางเป็นดินแดนที่ฝรังเศสและเยอรมนีแย่งชิงกัน
ยุคกลาง
     หลังจากพระเจ้าออทโทที่ ๑ แห่งจักรวรรดิแฟรงก์ตะวันออกปกครองเหนือดินแดนแถบกลางของยุโรป จึงก่อตั้งเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่หลังจากเกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์และสถาบันศาสนา ทำให้อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แยกออกเป็น ๒ ส่วน สุดท้ายก็ล่มสลายใรศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อนโปเลียนขึ้นมามีอำนาจ
สมัยใหม่
     ปี ค.ศ. ๑๘๖๑ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เสนาบดีของปรัสเซีย รวมเยอรมนีกับปรัสเซียเข้าด้วยกัน โดยใช้นโยบายเลือดและเหล็ก ซึ่งใช้กำลังทหารทำให้เยอรมนีรวมเป็นหนึ่งได้สำเร็จ และสถาปนาจักวรรดิเยอรมนีขึ้น แต่ก็ต้องล่มสลายเมื่อเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๑
ปัจจุบัน
     หลังสิ้นสุดสงคราม เยอรมนีเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสังคมนิยม แต่หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี ค.ศ. ๑๙๒๙ ฮิตเลอร์และนาซีฉวยโอกาสล้มล้างระบอบสังคมนิยม จากนั้นยึดดินแดนของออสเตรียและเชกโกสโลวาเกียเป็นของตัวเอง และบุกยึดโปแลนด์ จนกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ต่อมาปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เยอรมนีก็ยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒