วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการอ่านเรื่องที่๒๖

วันที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์  พ .ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : สนิท อักษรแก้ว ป่าชายเลน นิเวศวิทยาและการจัดการ
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หน้า ๘๙ - ๑๐๖



สาหร่ายในป่าชายเลน
    

         สาหร่ายนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของป่าชายเลน และพบเห็นอยู่หลายชนิด กาญจนภาชน์ (๒๕๑๙) ได้ศึกษาชนิดของสาหร่ายปริเวณป่าชายเลน และสรุปได้ว่า มาหร่ายในป่าชายเลนอาจจำแนกออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกสาหร่ายที่อาศัยอยู่ตามต้นหรือต้นโกงกางหรือแสม และพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นโคลนหรือเลน หรือโคลนปนทราย โดยเฉพาะพวกหลังนี้จะฝังส่วนโคนอยู่ในโคลนและจะโผล่เฉพาะบางส่วนขึ้นมาเหนือผิวโคลน หรืออาจขึ้นเกาะอยู่ตามก้อนหิน ก้อนกรวด เปลือกหอย หรือดศษใบไม้บริเวณป่าชายเลน บางชนิดก็จะขึ้นอยู่ตามผิวหน้าของโคลน สำหรับสาหร่ายพวกแรกที่ขึ้นอยู่ตามรากโกงกางและแสมนั้น มักจะอยู่ในบริเวณระหว่างน้ำขึ้นและนำ้ลง (intertidal zone) ซึ่งบริเวณนี้เมื่อน้ำขึ้นเต็มที่จะท่วมถึง เเละเมื่อน้ำลดสาหร่ายพวกนี้จะแห้งและเกาะติดอยู่กับรากหรือต้นของพืชที่เกาะอาศัยอยู่นั้น และเมื่อได้รับน้ำทะเลในช่วงน้ำขึ้นก็จะพองตัวได้เหมือนเดิมอีก สาหร่ายพวกนี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะสิ่งแวดล้อมได้ดี เช่น จะขึ้นประสานอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ จึงทำให้ไ่ขาดน้ำในช่วงน้ำลด และอีกประการหนึ่งสาหร่ายพวกนี้มักจะขึ้นอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เพราะถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่แล้ว เวลาน้ำลดสาหร่ายพวกนี้อาจจะตายได้ ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าบริเวณที่ได้รับแสงแดดน้อยจะมีสาหร่ายขึ้นซับซ้อนกันอย่างหนาแน่น สาหร่ายชนิดที่สำคัญและพบอย่างสม่ำเสมอในบริเวณป่าชายเลนซึ่ได้ศึกษาและรวบรวมโดย กาญจภาชน์ (๒๕๑๙) มีทั้งหมด ๑๖ วงศ์ ๑๘ สกุล ๔๖ ชนิด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น