วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๙

วันที่ ๒๑ เดือน ธันวาคม   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : นายแพทย์สุเทพ ฤษฎีวณิชยา Priciple of Biology 3
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ บริษัทสำนักพิมพ์แม็คจำกัด หน้า ๔๕ - ๖๐



ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง


     ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งคน คือ สมองและไขสันหลัง ซึ่งเจริญเปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้างเดียวกัน กล่าวคือ ในระหว่างการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในระยะสร้างอวัยวะ (organogenesis) จะมีการเจริญเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) กลายเป็นหลอดประสาท (neural tube) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นท่อกลวงอยู่ด้านบนและทอดยาวตลอดลำตัวของเอ็มบริโอจากด้านหน้าไปด้านหลัง ส่วนหลอดประสาทที่อยู่ด้านหน้าจะขยายใหญ่ขึ้นและเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นสมอง ส่วนหลอดประสาทที่อยู่ด้านหลังจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นไขสันหลัง สมองและไขสันหลังจะเป็นเนื้อเยื่อที่ต่อเนื่องกันและมีโพรงภายในซึ่งติดต่อถึงกันได้
     ในระยะแรกของการเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นสมอง หลอดประสาททางด้านหน้าจะขยายใหญ่และโป่งพองออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า (forebrain) สมองส่วนกลาง (midbrian) และสมองส่วนท้าย (hindbrian)
     สมองส่วนหน้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เทเลนเซฟาลอน (telencephalon) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นซีรีบรัม ส่วนไดเอนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นทาลามัส (thalamus) และไฮโพทาลามัส (hypothalamus)
     สมองส่วนกลาง ได้แก่ เมเซนเซฟาลอน (mesencephalon) ซึ่งจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นสมองส่วนกลาง สมองส่วนกลางของปลาและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกจะมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางควบคุมและประสานงาน โดยจะรับกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ประมวลผลและสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลางจะเจริญเปลี่ยนแปลงเป็น opticlobe ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น
     สมองส่วนท้าย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมเทนเซฟาลอน (metencephalon) และไมอีเลนเซฟาลอน (myelencephalon) เมเทนเซฟาลอนจะเจริฐเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเซรีเบลลัม 9cerebellum) และพอนส์ (pons) ส่วนไมอีเลนเซฟาลอนจะเจริญเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเมดัลลา (medulla)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น