วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการอ่านเรื่องที่๒๕

วันที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์  พ .ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : สนิท อักษรแก้ว ป่าชายเลน นิเวศวิทยาและการจัดการ
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หน้า ๖๑ - ๘๖



การเจริญเติบโตของแพลงตอนในป่าชายเลน
     

     ผลผลิตขั้นปฐมภูมิของกลุ่มแพลงตอน (plankton community) ในน้ำบริเวณป่าชายเลน Ong et al., (๑๙๘๔) ได้ศึกษาบริเวณลำคลองในป่าชายเลนที่มีกลุ่มไม้โกงกางเป็นไม้เด่นที่ Matang ประเทศมาเลเซีย และพบว่าผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวม (gross primary productivity) จะอยู่ระหว่าง ๐.๑๔ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี (คลองเล็ก) และ ๐.๕๖ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี (คลองใหญ่) แต่ผลผลิตสุทธิ (net primary productivity) เท่ากับศูนย์ สำหรับ Twilley (๑๙๘๒) ได้ศึกษาผลผลิตของแพลงตอนในป่าชายเลนกลุ่มไม้แสมที่ Rookey Bay ในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และพบว่าในน้ำป่าชายเลนมีผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวมของแพลงตอนประมาณ ๐.๕๘ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี และผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิประมาณ ๐.๔๐ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี นอกจากนี้ Tundisi et al., (๑๙๗๓) พบว่าผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวมของแพลงตอนในบริเวณป่าชายเลนประเทศบราซิลมีช่วงระหว่าง ๐.๐๖ - ๐.๔๖ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี ส่วนในประเทศไทย Wium-Anderson (๑๙๗๙) ได้ศึกษาผลผลิตของแพลงตอนพืชบริเวณอ่าวใกล้ป่าชายเลนจังหวัดภูเก็ต และพบว่ามีผลผลิตสูงถึง ๐.๗๕ ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าการศึกษาในเรื่องดังกล่าวยังมีน้อยมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น