วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการอ่านเรื่องที่๒๒

วันที่ ๒๕ เดือน มกราคม  พ .ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : ชาญชัย อาจินสมาจาร ดาวฤกษ์ที่น่ารู้จัก
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา  หน้า ๓๐ - ๔๒


ดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์


     ดาวเคราะห์เป็นหินรูปทรงกลมที่หมุนรอบดาวฤกษ์ เมื่อดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นเป็นครั้งแรก ดาวเคราะห์ก็ก่อตัวขึ้นมาเช่นเดียวกัน มันมาจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นเช่นเดียวกับดาวฤกษ์
     ระบบสุริยะของเราก่อตัวขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซหดตัวโดยก่อตัวเป็นดวงอาทิตย์ ไม่ใช่กลุ่มก๊าซทั้งกลุ่มที่ถูกดูดไปเพื่อก่อตัวเป็นดวงอาทิตย์ วงแหวนของก๊าซและฝุ่นที่เหลือหมุนรอบดวงอาทิตย์ที่เพิ่งก่อตัวใหม่ จุดเล็กๆของวงแหวนเริ่มจับตัวเข้าด้วยกัน มันค่อยๆจับตัวเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนหินอย่างช้าๆ จากนั้น หินเหล่านี้ก็จะกลายเป็นดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ที่เหมือนกับโลกต้องใช้เวลา ๑๐๐ ล้านปีเพื่อการก่อตัว
     ในทางช้างเผือก ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในทุกๆสิบดวงอาจมีดาวเคราะห์ล้อมรอบมัน ดาวฤกษ์อยู่ห่างไกลมาก ดังนั้นดาวเคราะห์ที่อยู่ล้อมรอบมันจึงสลัวมาก ได้มีการสังเกตเห็นว่าดาวฤกษ์บางดวงส่ายไปส่ายมา อาจเป็นไปได้ที่มันถูกแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็น
     ได้มีตัวชี้แนะมากขึ้นเกี่ยวกับระบบสุริยะอื่นๆ จากดาวเทียมดาราศาสตร์อินฟาเรด รังสีอินฟราเรด (Infrared Rays) เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นระหว่างความยาวคลื่นของแสงกับคลื่นวิยุ เราสามรถสัมผัสรังสีอินฟาเรดในรูปของความร้อน ในปี ๑๙๘๓ ดาวเทียมดาราศาสตร์อินฟาเรดได้พบกลุ่มก๊าซที่เย็นตัวลงรอบๆดาวฤกษ์สี่สิบดวงใกล้ดวงอาทิตย์ ได้มีการถ่ายภาพกลุ่มก๊าซรอบๆดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า เบต้า พิคโทริส (Beta Pictoris) กลุ่มก๊าซมีลักษณะคล้ายวงแหวนของฝุ่นและก๊าซที่คิดว่าดาวเคราะห์ได้ก่อตัวขึ้นมา เราสามารถเห็นขั้นตอนแรกๆของการก่อตัวดาวเคราะห์ใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น