วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการอ่านเรื่องที่๒๑

วันที่ ๒๕ เดือน มกราคม  พ .ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : ชาญชัย อาจินสมาจาร ดาวฤกษ์ที่น่ารู้จัก
          พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา  หน้า ๔๓ - ๕๖


ดาวฤกษ์คู่


     สองร้อยปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เซล ได้มองดูดาวฤกษ์หลายดวงอย่างใกล้ชิด เขาพบว่าดาวฤกษ์บางดวงมีดาวดวงหนึ่งอาจอยู่ไกลจากเรามากกว่าดาวฤกษ์อีกดวง เราจะเห็นมันเรียงเป็นแถวเมื่อมองจากพื้นโลก ดาวฤกษ์ที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ดาวคู่ที่มองด้วยสายตา
     อย่างไรก็ตามในอีกหลายๆกรณี เมื่อมีการมองเห็นดาวฤกษ์สองดวงอยู่ใกล้กัน โดยความจริงแล้ว มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบดาวฤกษ์แฝด มันก่อตัวที่เรียกว่า ทวิภาค (Binary) ดาวฤกษ์สองดวงเกิดขึ้นด้วยกัน มันอยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดของกันและกันตลอดอายุของมัน ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าส่วนใหญ่เป็นคู่แฝดหรือไม่ก็เป็นสามดวงบ้างก็มีมากกว่านี้
     ดาวคู่แฝดจะหมุนรอบกันและกัน บางครั้งดาวฤกษ์ดวงหนึ่งจะหมุนผ่านด้านหน้าของอีกดวงในขณะที่เราศึกษามันจากพื้นโลก ดาวฤกษ์คู่หนึ่งซึ่งเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่าทวิภาคอุปราคา
     ดาวฤกษ์คู่หนึ่งมีชื่อว่า แอลกอล (Algol) มันอยู่ในกลุ่มดาวเปอร์ซีอุส ดาวฤกษ์สองดวงของแอลกอลอยู่ใกล้ชิดกันมากจนดูคล้ายเป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวถึงแม้จะมองด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดทุกๆ ๒ วัน และ ๒๑ ชั่วโมง ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งจะหมุนผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์อีกดวง ด้วยเหตุนี้ความสว่างของแอลกอลจึงลดเหลือหนึ่งในสามของความสว่างปกติ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวกินเวลาสิบชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น