วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๒

วันที่  ๒๐  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : สารและสมบัติของสาร
         พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๖๘ - ๘๐


สารชีวโมเลกุล


     มนุษย์รับประทานอาหารเพื่อการดำรงชีวิต เนื่องจากในอาหารมีสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่และน้ำ สารอาหารบางประเภทจัดเป็นสารชีวโมเลกุล (Biomolecules) เช่น ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และกรดนิคลิอิกก็จัดเป็นสารชีวโมเลกุลเช่นเดียวกัน
     สารชีวโมเลกุล คือ สารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิต มีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลัก โมเลกุลมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สารชีวโมเลกุลทำหน้าที่แตกต่างกันตามลักษณะโครงสร้าง และมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต 
     สารชีวโมเลกุลมีประโยชน์มากมาย และมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น
      ๑. สลายให้พลังงาน
      ๒. ใช้ในการเจริญเติบโต
      ๓. ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
      ๔. ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น สุขภาพผมและเล็บดี
      ๕. เป็นส่วนหยึ่งในการรักษาสมดุลของน้ำ และกรด - เบส
      ๖. เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ และระบบภูมิคุ้มกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น