วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๓

วันที่  ๒๓  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล มนุษย์กับจักรวาล         
พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์สารคดี หน้าที่ ๒๐ - ๓๒




ดาวหางชนโลก
    


      โลกเคยถูกดาวหางชนหรือไม่ ?นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเคย ล่าสุดก็คือการระเบิดครั้งใหญ่ที่แถบบริเวณแม่น้ำทังกัสกาในไซบีเรีย สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ที่เรียกกันว่า การระเบิดไซบีเรีย หรือการระเบิดทังกัสกา     การระเบิดทังกัสกาเป็นการระเบิดที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวอย่างยิ่ง เทียบได้กับการระเบิดของระเบิดไฮโดรเจนขนาด ๑๒ เมกะตัน เกิดขึ้นตอนเช้าของวันนั้น เป็นลูกไฟสว่างจ้าระเบิดขึ้นเหนือพื้นดิน เห็นได้ไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร เสียงระเบิดได้ยินไปไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร แรงระเบิดรู้สึกไปได้ไกล ๘๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว วัดได้ทั่วโลก หมู่บ้านสองหมู่บ้านถูกพังราบ ป่าไม้ทั้งป่าถูกพังราบเป็นหน้ากลอง กินอาณาเขตบริเวณกว้างถึง ๒๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ต้นไม้ถูกแรงระเบิดพังราบเป็นแถบๆ เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรง ท้องฟ้าแถบกลางคืนทั่วโลกสว่างอยู่หลายคืนขณะที่เกิดการระเบิด เวลาของกรุงลอนดอนเป็นเวลาเที่ยงคืน แต่ท้องฟ้าเหนือกรุงลอนดอนก็สว่างขึ้นมาดังกลางวันจนกระทั่งคนในลอนดอนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์กลางถนนได้     แต่เดิมมาก็มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์เสนอกันขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุการเกิดระเบิดที่ทังกัสกา ทว่าหลักฐานข้อมูลล่าสุดทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากเชื่อกันว่า สาเหตุของการระเบิดที่ทังกัสกา มีเค้าว่าเป็นดาวหางมากที่สุด และก้าวไปไกลถึงขั้นระบุว่าดาวหางต้นเหตุระเบิดที่ทังกัสกา คือดาวหางชื่อ เองเก (Encke) มีวงโคจรปิดรอบดวงอาทิตย์ทุกๆ ๓.๓ ปี การระเบิดนั้นก็เป็นการระเบิดของชิ้นส่วนดาวหางเอ็นเคที่ระเบิดเหนือทังกัสกานั่นเอง โชคดีที่การระเบิดทังกัสกาเกิดขึ้นในแถบที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าระเบิดนั้นเกิดขึ้นเหนือนครใหญ่ๆของโลก เช่น กรุงเทพฯ โตเกียว นึกภาพดูแล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น