วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่านเรื่องที่๕


วันที่  ๓๐  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล มนุษย์กับจักรวาล         
พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์สารคดี หน้าที่ ๔๐ - ๕๕





อำนาจของหลุมดำ



     เนื่องจากหลุมดำมีแรงดึงดูดโน้มถ่วงมหาศาล ดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าใกล้มิให้หนีออกไปจากหลุมดำได้ แม้แต่แสงก็หนีออกจากหลุมดำไม่ได้ (จึงมองไม่เห็นและจึงมีชื่อเรียกว่า หลุมดำ) ดังนั้วัตถุที่ถูกหลุมดำดูดเข้าไปจะไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ จะต้องแตกสลายเปลี่ยนสภาพกลับไปสู่สภาพองค์ประกอบเล็กที่สุดคือ อะตอม และแม้แต่อะตอมก็อาจจะคงสภาพอยู่ไม่ได้ อาจจะแตกสลายต่อไปเป็นองค์ประกอบพื้นฐานเล็กลงไปอีกเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน หรือองค์ประกอบที่เล็กลงไปอีก คือ ควาร์ก (Quark)
     จริงๆแล้วมาถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีข้อมูลความรู้น้อยมากเกี่ยวกับหลุมดำ และยังไม่ทราบจริงๆหรอกว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับวัตถุที่ถูกหลุมดำดูดเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดสุดท้ายของการแตกสลายจะหยุดอยู่ที่ไหน คือ หยุดอยู่ที่เป็นอะตอม หรือเล็กลงไปเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน หรือเล็กลงไปอีกเป็นควาร์ก แต่ที่แน่ๆคือ ถ้ายานอวกาศและมนุษย์ถูกหลุมดำดูดเข้าไป ก็เป็นอันสวัสดีชั่วนิรันดร์กันได้เลย ยกเว้นแต่ว่า มีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับหลุมดำที่นักวิทยาศาสตร์ยังคาดกันไม่ถึงจริงๆ
     มีนักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอแนวความคิดที่แปลกใหม่ว่า หลุมดำอาจเป็นทางลัดเชื่อต่อระหว่างจักรวาลหรือมิติได้ กล่าวคือ เมื่อวัตถุหนึ่งถูกดูดเข้าสู่หลุมดำทางหนึ่ง ก็ออกไปจากหลุมดำอีกทางหนึ่งสู่จักรวาลหรือมิติใหม่ และมีการตั้งชื่อส่วนที่เป็นช่องหรือทางออกจากหลุมดำเปิดสู่อีกจักรวาลหรือมิติหนึ่งว่า หลุมขาว (White Hole) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฎี ยังไม่เป็นที่ยอมรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น